เมนู

อำนาจความพอใจในรูปตัณหา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ในคันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา
ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะ
อบรมแล้ว ย่อมปรากฏว่าควรแก่การงาน ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา.
จบ ตัณหาสูตรที่ 8

9. ธาตุสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต



[507] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในปฐวีธาตุ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจในอาโปธาตุ ฯลฯ ในเตโชธาตุ ฯลฯ ในวาโยธาตุ ฯลฯ
ในอากาสธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะอบรม
แล้ว ย่อมปรากฏว่า ควรแก่การงาน ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา.
จบ ธาตุสูตรที่ 9

10. ขันธสูตร



ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต



[508] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย

อำนาจความพอใจในรูป เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในเวทนา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในสัญญา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจสังขาร เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในวิญญาณ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้นแล จิตของเธอ
ย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะอบรมแล้ว ย่อม
ปรากฏว่าควรแก่การงาน ในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ ขันธสูตรที่ 10
จบ กิเลสสังยุต


อรรถกถากิเลสสังยุต



พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสสังยุต ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จิตฺตสฺเสโส อุปกฺกิเลโส ความว่า (เป็นอุปกิเลส)
ของจิตดวงไหน ?
(เป็นอุปกิเลส) ของจิตที่เป็นไปในภูมิ 4.
ถามว่า (ฉันทราคะเป็นอุปกิเลส) ของจิตที่เป็นไปในภูมิ 3
นับว่าถูกต้อง (แต่) (เป็นอุปกิเลส) ของโลกุตตรจิตได้อย่างไร ?
ตอบว่า เป็นได้เพราะห้ามการเกิดขึ้น (แห่งโลกุตตรจิต)
อธิบายว่า ฉันทราคะนั้น พึงทราบว่าเป็นอุปกิเลส เพราะไม่ให้
โลกุตตรจิตนั้นเกิดขึ้น.